กรรมวิธีดิฟฟิวชั่นนี้
ต้องเริ่มต้นด้วยการฝังไพลิน
ไว้ในภาชนะที่มีส่วนผสมของสารอลูมิเนียมออกไซด์
(สารที่เป็นองค์ประกอบ
ของไพลินตามธรรมชาติ)
และสารไททาเนียมออกไซด์
กับเหล็กออกไซด์
(สารที่ทำให้เกิดสีน้ำเงิน
ในไพลินตามธรรมชาติ) เสียก่อน
ผู้ผลิตคนไทยบางราย
อาจเติมธาตุโคบอลท์
ที่เป็นตัวให้สีน้ำเงินลงไปด้วยขั้นตอนต่อไป
จึงนำภาชนะนั้น
ไปเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 1,600 - 1,850
องศาเซลเซียส แต่ดูเหมือนว่า
ที่อุณหภูมิระหว่าง 1,700 - 1,800
องศาเซลเซียส
และถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 1,600
องศาเซลเซียสแล้ว เวลาในการอบ
ก็จะยึดเยื้อออกไป
ทำให้ไม่คุ้มทุน
แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 1,850
องศาเซลเซียส
โดยเฉพาะที่อุณหภูมิใกล้
กับจุดหลอมเหลว ของไพลิน
(คือที่อุณหภูมิ 2,050 องศาเซลเซียส)
ผิวของไพลินจะเกิดรอยไหม้ได้
ในกรณีผลลัพธ์ที่ได้อาจมีเพียง
60% เท่านั้น ฉะนั้นถ้า
อุณหภูมิที่ใช้สูงขึ้น
โอกาสเสี่ยงก็จะสูงตามไปด้วย
ส่วนระยะเวลาในการอบนั้น
อาจสั้นเพียงแค่สองชั่วโมงครึ่ง
หรืออาจนานถึงสองร้อยชั่วโมง
หรืออาจยึดเยื้อนานถึง
สองเดือนก็เป็นไปได้
สำหรับสีที่ได้นั้น
จะกินเนื้อที่ลึกลงไปใต้ผิวของไพลินมากน้อยแค่ไหนนั้น
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการอบ
เวลาในการอบ และจำนวนครั้ง
ของการอบ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น
เวลาในการอบนานขึ้น
และจำนวนครั้งของการอบบ่อยครั้งขึ้น
โอกาสที่สีจะกระจายลงใต้ผิวไพลินก็จะมากขึ้น