อันที่จริงแล้ว
กรรมวิธีการย้อมสีหยก
ก็มิได้มีความสลับซับซ้อนแต่อย่างใด
เพียงแค่นำหยกที่ได้รับการอุ่นมาแล้วนั้น
จุ่มลงไปในสีย้อม (อนิลิน)
ก็ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการย้อมสีแล้ว
อย่างไรก็ตาม สีย้อมประเภทนี้
จะไม่มีความคงทนเลย
เพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
สีที่ย้อมก็จะจางลง
ส่วนใหญ่แล้ว
หยกย้อมสีประเภทนี้มักจะทำในฮ่องกง
ส่วนสีย้อมที่คงทนกว่า
น่าจะเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติเท่านั้น
อย่างเช่น
สีที่ได้จากผลแครนเบอร์รี่
เป็นต้นการปะแผ่นฟอยส์สีเขียวไว้ที่ก้นพลอย
ก็เป็นอีกกรรมวิธีหนึ่ง
ที่สามารถทำให้หยกดูมีสีเขียวสวยงามได้
หยกที่จะนำมาปะด้วยแผ่นฟอยส์นี้
มักเป็นหยกที่ค่อนข้างจะโปร่งแสง
หรือที่เรียกว่ากึ่งโปร่งแสงนั่นเอง
โดยทั่วไปนั้น หยกที่ปะด้วยแผ่นฟอยส์
มักจะนำมาฝังในตัวเรือนแหวน
โดยที่กระเปาะพลอย
มักฉาบด้วยกระจกเลนส์เว้า
ที่เจาะรูไว้ให้แสงเข้าอีกด้วย
แหวนหยกปะฟอยส์นี้
มักจะทำกันมากในฮ่องกง
อีกวิธีการหนึ่ง
ที่สามารถช่วยเปลี่ยนโฉมหยกสีอ่อน
ให้ปรากฏเป็นสีเขียวสวยงามได้
ก็คือการประกอบชิ้นส่วนของหยกเข้าด้วยกัน
โดยอาศัยสารหนืดสีเขียวเป็นตัวให้สี
การประกอบชิ้นส่วนของหยกนี้
ทำได้ด้วยการนำหยกเนื้อสีขาว
มาคว้านส่วนก้นให้กลวง
จากนั้นก็ประจุสารหนืดสีเขียวลงไป
แล้วจึงใช้ชิ้นส่วนของหยกอีกชิ้นหนึ่ง
ประกบปิดส่วนก้นไว้ด้วยกาว
พลอยที่ทำขึ้นจากกรรมวิธีนี้จึงเรียกว่า
พลอยประกอบ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า
หยกที่มีขายตามท้องตลาดนั้น
ส่วนใหญ่จะผ่านการปรับปรุงคุณภาพมาแล้วทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นการฉายรังสี
การย้อมสี การปะด้วยแผ่นฟอยส์
พลอยประกอบ
หรือการอาบด้วยสารเคมี
แต่ที่พบเห็นได้บ่อยก็คือ
หยกย้อมสี
และที่พบได้บ่อยที่สุดในช่วงหลังนี้
มักเป็นหยกที่ได้รับการอุดรอยร้าว
และรอยแตกด้วยการอาบสารเคมี
ฉะนั้น การซื้อขายหยกจึงค่อนข้างเสี่ยง
และควรให้ความระมัดระวังสูงเป็นพิเศษ
ทางออกที่ดี
หากต้องการจะซื้อ
หรือขายหยกเม็ดใดเม็ดหนึ่งแล้ว
ก็ควรส่งไปตรวจเช็ค
ตามห้องแลปที่คุณเชื่อถือได้
ซึ่งก็มีอยู่หลายแห่งในกรุงเทพฯ